วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

Learning Outcomes 5

wednesday 19th September 2018



ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์บอกรายละเอียดเกี่ยวกับ Blogger ว่าแต่ละคนต้องปรับปรุงแก้ไข อะไรบ้าง
 เช่นต้องเพิ่มเนื้อหาให้เยอะๆไม่เน้นรูป เน้นเนื้อหาสาระ และแถบข้างๆต้องมี
- บทความ
- สื่อ
- วิจัย



หลังจากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำงาน กลุ่มละ5คนและสรุปเป็นของตัวเอง


อาจารย์แจกใบความรู้วิทยาศาสตร์ 
(บ้านวิทยาศาสตร์น้อย) 
ชื่อกิจกรรม ฟองสบู่รูปสี่เหลี่ยมและทรงกลม



วัสดุอุปกรณ์
- ช้อน
- สบู่หรือน้ำยาล้างจาน 
- ถังน้ำใบใหญ่
- เส้นลวด
- น้ำสะอาด
การทดลอง 
1.เทน้ำสะอาด1ขวด ลงกะละมัง ผสมน้ำยาล้างจาน 5ช้อน
 ข้นให้เข้ากัน
2.ดัดลวดเป็นรูปทรงต่างๆ
3.นำลวดที่ดัดเป็นรูปทรงต่างๆพันกับลวดกำมะหยี่
4.นำลวดจุ่มน้ำยาล้างจานแล้วยกขึ้นเป่าเบาๆ
สรุปการทดลอง
รูปทรงของฟองสบู่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปร่างของลวดที่เราดัดเป็นรูปอะไรก็ตาม ฟองสบู่จะเป็นทรงกลมเสมอ เนื่องจากพื้นผิวของฟองสบู่จะเป็นชั้นเหลวบางๆ ซึ่งมีแรงตึงผิวคอยดึง ให้ฟองสบู่คงรูปได้

''ฟองสบู่จะใช้หลักของแรงตึงผิว เพื่อให้เกิดรูปทรงที่มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด''

หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งของจากฝาขวดน้ำที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
นาฬิกาบอกเวลา




วัสดุอุปกรณ์
- ฝาขวดน้ำ
-หลอด
-จานกระดาษ
-เข็มมุด

การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์และตั้งใจสรุปการทดลอง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำงานและตั้งใจทำงานประดิษฐ์
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายและให้คำแนะนำ


วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

Learning Outcomes 4

wednesday 29th August 2018
ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์พูดคุยสนทนาเรื่องฐานในแต่ละฐานที่เราจะไปทำกิจกรรมที่เขาดิน
โดยมีฐานดังนี้ 
ฐานที่1 เล่าสู้กันฟัง
ฐานที่2 ผจญภัยอะไรเอ่ย?
ฐานที่3  รอยเท้าของใคร
ฐานที่4  ต่อเติมภาพ
ฐานที่5   การทดลอง
โดยต้องแก้ไขตามที่อาจาร์ยแนะนำให้ถูกต้องก่อนจะไปเขาดิน
-อาจารย์สอนเรื่องนักทฤษฎี
-เพียเจต์ - บรูเนอร์
4ช่วงวัย
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)
4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)

(ด้านสติปัญญา)
-กีเซล
(ด้านร่างกาย) 
-สกินเนอร์
(ด้านการเรียนรู้) การเสริมแรง
-มาสโลว์
(ด้านสังคม)
-ฟรอย
(บุคคลิกภาพ)


หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอน powerpoint


เรื่องทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์




♥เด็กปฐมวัย


วัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น
วัยที่มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดของชีวิต
 แสวงหาความรู้สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบรอบตัว สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง จากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

♥ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผลแสวงหาความรู้สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว

1. ความหมายทักษะการสังเกต
ทักษะการสังเกต Observation
หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้แก่ตาหูจมูกลิ้นและ ผิวกายเข้าไปสัมผัส
โดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยมีจุดประสงค์ ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น
1. การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
2. การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ
3. การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

2. ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
 ทักษะการจำแนกประเภทClassifying
หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์Criteria
1. ความเหมือน Similarities
2. ความแตกต่างDifferences
3  ความสัมพันธ์ร่วมInterrelationships

3. ความหมายทักษะการวัด
 ทักษะการวัดMeasurement
หมายถึงการใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการ ทราบได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยการวัดกำกับ
1. รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
2. การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
3.  วิธีการที่เราจะวัด

4. ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
 ทักษะการสื่อความหมายCummunication
หมายถึงการพูดการเขียนรูปภาพและภาษาท่าทางการแสดงสีหน้าความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
3. บอกความสัมพันธ์ของ ข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

5. ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล Inferring
หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่ อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
1.  ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
2.  ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
3. การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

6. ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาSpace
หมายถึงการรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติการเขียนภาพ 2 มิติถ่ายรูป 3 มิติการบอกทิศทางการบอกเงา ที่เกิดจากภาพ 3 มิติการเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงาการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย
1. ชี้ภาพสองมิติและสามมิติ
2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ
4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของผ้าที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา
7. ความหมายทักษะการคำนวณ
 ทักษะการคํานวณหมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนบวกลบคูณหารจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่นความกว้างความยาวความสูงพื้นที่ปริมาตรน้ำหนัก
1. การนับจำนวนของวัตถุ
2.  การบวกลบคูณหาร
3. การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ

ทำไมจะต้องสอนวิทยาศาสตร์

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560
ความจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทำไมจะต้องสอนวิทยาศาสตร์

♥มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560
 ความจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

♥มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย

 มาตรฐาน ด้านผู้เรียน
 มาตรฐาน..... มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์มีวิจารณญาณและมีความคิดสร้างสรรค์

สมองกับวิทยาศาสตร์

1.ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ

2.หาสาเหตุเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง

3.ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ
4. จำแนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น

คุณสมบัติบุคคลที่เอื้อต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

1.ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
2. ช่างสังเกตทั้งสองฝ่ายช่างไก่ถามคำถามพี่มาใช้ 5 W 1 H
3.ความสามารถในการลงความเห็น
4.ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล

องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์


1. สิ่งที่กำหนดให้

2. หลักการหรือกฎเกณฑ์

3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ

1.สิ่งที่กำหนดให้
 เป็นสิ่งสำเร็จรูปที่กำหนดให้
สังเกต
จำแนก
วัด
สื่อความหมาย
ลงความเห็น
หาความสัมพันธ์
การคำนวณ
เช่นวัตถุ สิ่งของเรื่องราว เหตุการณ์ หรือ ปรากฏการณ์ต่าง

2. หลักการหรือกฎเกณฑ์
 เป็นข้อกำหนดสำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้
 เช่น เกณฑ์จำแนกสิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันเกณฑ์ในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลลักษณะความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันหรือขัดแย้งกัน

3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
 เป็นการพิจารณาส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้  ตามหลักเกณฑ์เเล้วทำการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุป

ความสามารถในการลงความเห็นจากข้อมูล(คำถาม)
สามารถค้นหาคำตอบได้เช่น
= อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดฝนตก
= อะไรที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของต้นถั่วเกี่ยวข้องอย่างไร 
= มีแนวทางแก้ปัญหาในการทดลองอย่างไรบ้าง
= มีองค์ประกอบใดบ้างที่นำไปสู่การย้อมสีใบไม้ให้สวย
= ลำดับเหตุการณ์นี้ดูว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์
 ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการศึกษา
ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ 
ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะ
ขั้นที่ 5 สรุปคำตอบ

คำศัพท์
1.Conservation  
การอนุรักษ์
2.Observation  
ทักษะการสังเกต
3.Sensori-Motor Stage
ขั้น ประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
4.Preoperational Stage 
ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด
5.Concrete Operation Stage 
ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
6.Formal Operational Stage
 ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
7. Similarities 
ความเหมือน
8.Differences 
ความแตกต่าง
9.Interrelationships 
ความสัมพันธ์ร่วม
10.Classifying 
การจำแนก
การประเมิน
ประเมินตนเอง:ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินเพื่อน:เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์:ชอบที่อาจารย์สอนpowerpoint เข้าใจง่ายดี